อะไรที่เรียกว่าการภาวนา

อะไรที่เรียกว่าการภาวนา

1378
0
แบ่งปัน

****** อะไรที่เรียกว่าการภาวนา ******

หวัดดียามค่ำ ของคืนวันพุทธ
.
.
.
.
.
.
.

เคาะเรียกมากินอาหาร..จร้า

โม้เรื่องไรดี.. ยังไม่อาบน้ำเลย วันนี้โม้ไรดี เอาเรื่องภาวนา ที่อ้อสงสัย ละกัน

คำถามของอ้อนั้น ไม่รู้ว่า เป็นคำถาม หรือต้องการบอกเล่า ว่าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ ชี้ การภาวนา นี่..เอามาจากหนังสือพุทธวจน

คือคำถามนั้น มันเป็นคำถาม แห่งความเข้าใจ ของอ้อเอง และไม่ทราบเจตนาชัดว่า ต้องการบอกหรือต้องการถาม เพราะ ที่ถาม อ้อก็ตอบตามความเข้าใจ ที่ตนคิดไว้เสร็จ

จึงไม่ได้ตอบลงมา วันนี้ข้าจะอธิบาย ภาพรวมให้ฟัง การภาวนา ที่เราเรียกๆ กัน คือการมีสติ มีสัมปชัญญะ

นี่..เป็นธรรมอย่างป่าๆ ที่ข้าเข้าใจ

ตราบใดที่มีจิตระลึกมาทางกุศล ถือเป็นการ ภาวนาทั้งสิ้น เมื่อไหร่ที่เราตั้งสติได้ เกิดการทบทวน หรือพิจารณา หยุด ยั้ง เพ่ง ในสิ่งที่กระทบหรือผัสสะ นั้นคือการ ภาวนา

จะคิด พิจารณา ก็เรียก ภาวนา จะเพ่ง วางจิต เป็นสมถะ ก็เรียกว่า ภาวนา เมื่อไหร่ที่เกิดการโยนิโส เราเรียกว่า การภาวนาทั้งนั้น

การภาวนา แม้แต่การ อธิฐาน ก็เรียกว่า ภาวนา จะสวดมนต์ จะนั่งสมาธิ หรือเดินจงกลม ต่างเป็นการภาวนาทั้งนั้น

ฉะนั้น การภาวนา คือการกระทำทุกอย่าง ที่มาทางกุศลจิต โดยมีตัวเราเป็นผู้ตั้งสติ ริเริ่ม พระพุทธองค์ท่าน ทรงชี้ การภาวนา มาในเหตุแห่งแนวนี้

ส่วน การท่อง จะเป็น พุทธโธ สัมมาพระอรหัง ยุบหนอ พองหนอ หรือจะกล่าวคำใดๆ เราเรียกว่า คำบริกรรม

คำบริกรรมนี้ มันก็ขึ้นกับจริต ความชอบและความเคยชิน ของแต่ละคน ท่านไม่จำกัด ว่าใครจะบริกรรม ว่าอย่างไร

เพราะมันเป็นแค่คำบริกรรม เพื่อตั้งเป็นวิตกไว้ เพื่อให้ใจมันมีที่ยึด จะได้ไม่สาดส่ายไปไหน เรียกว่า การตั้งวิตก

ส่วนวิจารณ์เป็นการประคองวิตก หรือคำบริกรรมนั้นๆ ให้ตั้งมั่นและสืบเนื่องติดต่อกัน เพื่อไม่ให้ความฟุ้งซ่านเข้าแทรก

มันเป็นอุบายวิธี ในการฝึกใจ ให้รวมเป็นสมาธิจิต อาการที่กระทำทั้งหมดนี้นี่แหละ เรียกว่า การภาวนา แต่เป็นการภาวนา ที่ดำเนินมาทาง อานาปานุสสติ

กรรมฐานทั้ง 40 กอง หากได้ปฏิบัติ กระทำขึ้นมา ด้วยใจที่ตั้งมั่นด้วยสติ เรียกว่า การปฏิบัติ ภาวนาทั้งนั้น หรือฝึกมายาวนาน จนเกิดปัญญา สามารถ พิจารณา จนเกิด วิปัสสนาญาณ

จะนิ่งหรือใคร่ครวญก็ตาม เรียกว่าเป็นการภาวนา ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธองค์เจ้า ทรงชี้ วิธีปฏิบัติภาวนา มาหลายๆ วิธี ตามจริตของแต่ละอัธยาศัย

ที่เรียกว่า กรรมฐาน 40 กองนั้น หลายศาสนา เขาก็ทำกันอยู่ แต่ไม่ได้ระบุว่า มีกี่วิธี พระพุทธองค์ ทรงนำวิธีการวางจิตที่หลากหลายนั้น มาชี้ ตามจริตของแต่ละคน ทั้ง 6 จริต

ท่านแยกแยะ กรรมฐานเป็นกองๆ ออกมา สำหรับคน ที่จะนำไปใช้ได้ คัดเอาของเดิมๆ ที่เขาทำๆ กันหลากหลายนั้นแหละ มาใช้ คือแบ่งเป็นการ เพ่ง 11 กอง

เป็นการพิจารณาอีก 29 กอง ทั้ง 40 กอง เรียกว่า อุบายอันเป็นที่ตั้งแห่งใจ เพื่อให้ใจ มันเกิดความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไปตามกระแสแห่งจริตวิสัย

เป้าหมายก็คือ เป็นที่รวม ความสงบแห่งใจ เพื่อก้าวไปสู่การวินิจฉัย ให้ใจมันเกิดปัญญา เราใช้กรรมฐาน ตามแต่จริตทั้ง 40 กองนี้ เป็นเครื่องมือ

นี่..เราเรียกว่า การปฏิบัติภาวนา หากไม่ใช้กองกรรมฐาน ตามจริตภูมิวิสัย เราก็ใช้การดึงจิต ให้มาอยู่ ในอริยาบท ตามแนวแห่ง สติปัสฐาน 4

คือเอาสติ การระลึกได้ของเรา สอดส่องลงไป ในกายนอก กายใน และกายในกาย

ใจที่ชำนาญ ย่อมเห็น เวทนานอก เวทนาใน เวทนา ในเวทนา

ผู้ชำนาญในเวทนา ย่อมเห็นจิตนอก จิตใน และจิตในจิต

ผู้เข้าถึงเรื่องจิต ย่อมเห็น ธรรมนอก ธรรมใน และธรรมในธรรม

นี่..เรียกว่า เป็นวิหารธรรม แห่งทางสายเอก สำหรับผู้มีใจเป็นศีลแล้ว นี่ก็เรียกว่า การภาวนา การปฏิบัติอะไรใดๆ เรียกว่า การภาวนาทั้งนั้น

แต่ความหมายที่เราเข้าใจ เราเข้าใจว่า การภาวนา ก็คือ การบริกรรม ทั้งๆ ที่การบริกรรม หรือการท่องบ่น แม้แต่การพิจารณา มันก็คือ อาการหนึ่งของ ปฏิบัติภาวนา

คืนนี้ จึงแยกมาให้ฟังและเข้าใจกัน พอสังเขป เป็นอันว่า ขอตัวไปอาบน้ำแล้ว สวัสดี

วันที่ 9 มีนาคม 2557